เมนู

นั้น ท่านกล่าวถึงความถึงพร้อมด้วย ธิติ ด้วยอรรถว่า นิปกะ แต่ในอรรถกถา
นี้ อธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยธิตินั่นเอง. ความบากบั่นไม่ท้อถอยชื่อว่า ธิติ.
คำว่า ธิติ นั่น เป็นชื่อแห่งความเพียรอันเป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ จ
นหารู จ
. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีระ แม้เพราะอรรถว่า มีบาปอันลอยแล้ว.
บาทคาถาว่า ราชาว รฏฺฐํ วิชิตํ ปหาย ความว่าพระราชาผู้ปรปักษ์
ทรงทราบว่า แว่นแคว้นที่ชนะแล้วนำความฉิบหายมาให้ ทรงสละราชสมบัติ
ทรงเที่ยวไปแต่พระองค์เดียวฉันใด บุคคลละสหายที่เป็นพาลแล้ว พึงเที่ยวไป
แต่ผู้เดียวฉันนั้น.
อีกประการหนึ่ง บทว่า ราชาว รฏฺฐํ ความว่า พระเจ้าสุตตโสม
ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่พระองค์เดียวฉันใด และ
พระมหาชนกทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่พระองค์เดียว
ฉันใด บุคคลพึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวฉันนั้น. เนื้อความแห่งคาถานั้น มีเท่านี้.
ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญาเครื่องรักษาตนผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มี
ปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มี
ใจชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น.
บทที่เหลือ อาจเพื่อรู้ได้ ด้วยทำนองที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่
ได้อธิบายให้พิสดาร.
สหายคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 13


คาถานี้ว่า อทฺธา ปสํสาม ดังนี้ มีอุบัติตั้งแต่พระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ในพื้นระเบียง เป็นเช่นกับอุบัติในจาตุท-
ทิสคาถานั่นแล. ส่วนความแปลกกันมีดังนี้ :-